วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556

โรคความดันโลหิตต่ำ ภัยร้ายที่ไม่อาจมองข้าม


โรคความดันโลหิตต่ำ ภัยร้ายที่ไม่อาจมองข้าม


มักมีอาการวิงเวียนหน้ามืด อ่อนเพลีย แม้ว่านอนหลับและทานอาหารได้ดี
  
          เป็นที่ทราบกันว่าโรคความดันโลหิตสูงนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง 
จึงทำให้ผู้คนเอาใจใส่และให้ความสำคัญทว่าภัยของโรคความดันโลหิตต่ำนั้นคนทั่ว
ไปมักไม่รู้เท่าทัน เรามักจะพบผู้ป่วยที่มีอาการวิงเวียนหน้ามืด อ่อนเพลีย 
ไม่สดชื่นแม้ว่านอนหลับและทานอาหารได้ดีตามปกติ 
อีกทั้งยังเสริมอาหารและวิตามินบำรุงร่างกายอย่างเต็มที่ 
ส่วนด้านการงานก็ไม่ได้เหน็ดเหนื่อยและไม่มีความกดดัน 
ทว่ายังคงรู้สึกอ่อนเปลี้ยเพลียแรง 
โดยเฉพาะหลักจากรับประทานอาหารมือกลางวันแล้วจะรู้สึกง่วงซึม เรี่ยวแรงหดหาย 
นั่งฟุบโต๊ะหาวหวอดๆ จนน้ำหูน้ำตาไหล 
ไม่มีสมาธิในการทำงานยิ่งไปกว่านั้นอาจมีอาการใจสั่น ขี้หนาว 
ในขณะที่เพื่อนร่วมงานล้วนคิดว่าอุณหภูมิจากเครื่องปรับอากาศกำลังพอเหมาะแต่ตนเอง
กลับรู้สึกว่าช่างหนาวเย็นจับใจจนต้องสวมเสื้อคลุมทับ 
แต่พอไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลกลับไม่พบความผิดปกติ 
ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรตรวจวัดความดันโลหิต
เพราะมีความเป็นไปได้สูงว่าอาการที่เกิดขึ้นจะเป็นผลมาจากความดันโลหิตต่ำ

          อย่างไรถึงเข้าข่ายความดันโลหิตต่ำ

          โดยทั่วไปในทางการแพทย์ ความดันโลหิตของผู้ใหญ่ที่ต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท (MmHg) 
และความดันโลหิตของผู้สูงอายุที่ต่ำกว่า 100/70 มิลลิเมตรปรอท (MmHg) 
จะถูกจัดว่าเข้าข่ายความดันโลหิตต่ำ ซึ่งจะพบบ่อยในสตรีที่ร่างกายอ่อนแอ 
ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นความดันโลหิตต่ำ

          ความดันโลหิตต่ำมีชนิดใดบ้าง...

          ความดันโลหิตต่ำแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ 
ชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง โดยความดันโลหิตต่ำชนิดเฉียลพลันหมายถึงว่า 
ความดันโลหิตต่ำลงอย่างฮวบฮาบจากเกณฑ์ปกติ ซึ่งจะแสดงอาการหลัก ๆ
 คือ หน้ามืดและช็อคหมดสติ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นลมหรือหัวใจล้มเหลว 
แต่ภาวะความดันโลหิตต่ำที่เราพูดถึงกันโดยทั่วไปนั้นหายถึงความดันโลหิตต่ำชนิดเรื้อรัง 
ซึ่งแบ่งประเภทได้ดังต่อไปนี้

          1.ความดันโลหิตต่ำที่เป็นมาแต่กำเนิดหรือไม่ทราบสาเหตุ: 
ส่วนใหญ่พบว่าเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมหรือรูปร่างที่อ่อนแอผอมบาง 
ซึ่งมักจะพบในหญิงสาวรูปร่างผอมเพรียวและผู้สูงอายุ บางรายไม่แสดงอาการเจ็บป่วยใด ๆ 
แต่ในรายที่เป็นมากอาจจะมีอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง ใจสั่น วิงเวียน ศีรษะ 
ปวดศีรษะหรืออาจจะถึงขั้นเป็นลม โดยเฉพาะในหน้าร้อนที่อุณหภูมิสูงอาการจะยิ่งชัดเจนขึ้น

          2.ความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนอิริยาบถ: 
หมายถึงความดันโลหิตจะลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว
จากการเปลี่ยนท่าทางจากการนอนมาเป็นการนั่งหรือยืนในทันที 
หรือมีการยืนนาน ๆ ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ 
ส่งผลให้สมองทำงานผิดปกติจนเกิดอาการเวียนศีรษะ 
ตาพร่า คลื่นไส้ ใจสั่น ปวดต้นคอ ปวดหลังฯลฯ

          3.ความดันโลหิตต่ำจากการใช้ยาหรือการเจ็บป่วยของร่างกาย: 
เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ โรคมะเร็ง โรคตับอักเสบ วัณโรค โรคหัวใจรูมาติก 
ขาดสารอาหารเรื้อรัง ยาลดความดันโลหิต ยากกล่อมประสาท ยาต้านโรคซึมเศร้า เป็นต้น 
นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงใช้ยาความดันมากเกินขนาด
เพื่อให้ความดันโลหิตต่ำลงโดยเร็วและลดต่ำลงมากยิ่งขึ้น 
ก็จะส่งผลให้ความดันโลหิตลดต่ำลงอย่างเฉียบพลันหลังปัสสาวะ
เนื่องจากปัสสาวะถูกขับออกไปทำให้ความดันในช่องท้องลดต่อลงอย่างรวดเร็ว
 ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่กลับไปสู่หัวใจลดน้อยลงด้วย 
ทำให้เกิดอาการเป็นลมเนื่องจากความดันโลหิตต่ำลงอย่างเฉียบพลัน
ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในระหว่างที่ผู้สูงอายุตื่นขึ้นมาปัสสาวะกลางดึง

          โรคความดันโลหิตต่ำมีอาการอย่างไร

          ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตต่ำบางรายจะไม่แสดงอาการเจ็บป่วยใด ๆ 
แต่บางรายจะมีอาการหูอื้อ ปวดศีรษะ ตาลาย ปวดหลังและบั้นเอว 
มือเท้าเย็น อ่อนเพลีย สมองล้า 
ขี้หลงขี้ลืม ขาดสมาธิ หรือรู้สึกว่าสมองถูกบีบคั้น ปวดแสบปวดร้อน หรือท้องเดิน 
ท้องผูก มีแก๊สสะสมในลำไส้ ท้องอืดท้องเฟ้อ อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
 หรือประจำเดือนมาผิดปกติ ฯลฯ

          อันตรายจากความดันโลหิตต่ำไม่อาจมองข้ามได้

          คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าความดันโลหิตและไขมันในเลือดนั้นเหมือนกันคือยิ่งต่ำยิ่งดี
 ทว่าแม้จะต่ำก็ต้องมีขีดจำกัด หากความดันโลหิตต่ำเกินไปย่อมส่งผลร้ายต่อร่างกาย 
ทำให้เลือดไหลเวียนช้าลง เลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ 
ง่ายต่อการเกิดลิ่มเลือดทำให้หลอดเลือดอุดตัน หลอดเลือดฝอยส่วนปลายในร่างกายขาดเลือดไปเลี้ยง 
รวมท้งเกิดการคั่วของคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมและที่สำคัยคือ 
อาจจะเกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสมองเนื่องจากขาดออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยง 
ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ หน้ามืด ขี้หลงขี้ลืมสมองล้า ไม่มีสมาธิฯลฯ 
หากไม่มีการบำบัดอย่างทันท่วงทีอาจทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายลดลง 
ความสามารถในกาองมองเห็นและการได้ยินลดลง 
อ่อนเพลียซึมเศร้าก่อให้เกิดอาการอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ
หรือเป็นตัวเร่งอาการให้หนักขึ้นหรืออาจส่งผลให้หกล้มเนื่องจากเป็นลม 
ทำให้กระดูกหักได้ อีกทั้งเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบตันหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดด้วย

          การแพทย์จีนมีวิธีบำบัดโรคความดันโลหิตต่ำอย่างไร...

          การแทพย์จีนได้จัดโรคความดันโลหิตต่ำให้อยู่ในกลุ่ม
โรคที่เกิดจากการพร่องลงของพลังซี่และเลือดในร่างกายหรือที่เรียกว่าชี่พร่อง-เลือดพร่องนั่นเอง
 เลือดกับพลังชี่มีคุณสมบัติต่างกันคือ เลือดเป็นหยินชอบอยู่นิ่งและให้ความชุ่มชื้น
 ส่วนพลังชี่เนหยางชอบความเคลื่อนไหวและให้ความอบอุ่น
 ความสัมพันธ์ของเลือดกับพลังชี่แท้ที่จริงแล้วก็คือ
ความสัมพันธ์ของหยิน-หยางในระบบการไหลเวียนของเลือดนั่นเอง

          -เลือดกับพลังชี่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
กระบวนการเกิดและการสร้างเลือดต้องอาศัยพลังชี่และการเคลื่อนไหวของพลังชี่ 
ถ้าพลังชี่สมบูรณ์ เลือดก็จะสร้างขึ้นมาได้อย่างเพียงพอ 
และในทางกลับกันพลังชี่ก็ต้องอาศัยเลือดไปหล่อเลี้ยงและให้ความชุ่มชื้น 
การไหลเวียนของเลือดจะนำพาพลังชี่ไปสู่ทุก ๆ เซลล์ของร่างกาย 
ถ้าเลือดพร่องลง พลังชี่ก็จะพร่องตามไปด้วย ทำให้ชี่พร่องและเลือดพร่องมักจะเกิดขึ้นร่วมกันอยู่เสมอ

          -พลังชี่ผลักดันการไหวเวียนของเลือด: 
เลือดเป็นหยินชอบอยู่นิ่งไม่สามารถไหลเวียนได้เองต้องอาศัยแรงผลักดันจากพลังชี่ 
จึงกล่าวได้ว่า พลังวิ่งเลือดเดิน พลังนิ่งเลือดหยุด ถ้าพลังชี่พร่องลง เลือดก็จะไหลเวียนช้าลง 
ทำให้ชี่และเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงร่างกายอย่างทั่วถึงส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ 
อวัยวะต่าง ๆ ได้รับการหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอจนเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้

          การแพทย์แผนจีนจึงนิยมให้วิธีบำรุงชี่-บำรุงเลือดเพื่อบำบัดภาวะความดันโลหิตต่ำ
 เมื่อชี่-เลือดในร่างกายสมบูรณ์ขึ้น ความดันโลหิตก็จะค่อย ๆ กลับสู่ภาวะปกติอาการต่าง ๆ 
ที่เกิดจากโรคความดันโลหิตต่ำก็จะทุเลาลงหรือหายไปในที่สุด

          วิธีการดูแลร่างกายสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตต่ำ

          1.วัดความดัน: 
หมั่นวัดระดับความดันโลหิตของตนเองอย่างสม่ำเสมอ 
และใส่ใจกับการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิตในร่างกาย

          2.พักผ่อนให้เพียงพอ:  
ความเหน็ดเหนื่อย การนอนหลับไม่เพียงพอต่างก็ยิ่งทำให้ความดันโลหิตต่ำลง
 ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการตรากตรำทำงานเกินควร หลีกเลี่ยงการนอนดึก 
และเวลานอนหลับไม่ควรนอนหนุนหมอนที่ต่ำเกินไป

          3.หลีกเลี่ยงการยืนนาน ๆ หรือเปลี่ยนอิริยาบทอย่างรวดเร็วเกินไป: 
การเก็บของไม่ควรก้มศีรษะลงโดยตรงแต่ควรทรุดตัวนั่งยอง ๆ ลงก่อน 
ยามตื่นนอนไม่ควรลุกยืนขึ้นมาในทันทีทันใด 
แต่ควรรอให้แน่ใจว่าร่างกายเข้าที่เข้าทางแล้วจึงค่อยๆ ลุกขึ้น

          4.ใส่ใจสภาพแวดล้อมและการแต่งกาย: 
ไม่ควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อากาศร้อนอบอ้าวนานเกินไป 
เพราะจะทำให้หลอดเลือดขยายตัว ความดันโลหิตต่ำลง นอกจากนี้การผูกเน็คไทแน่นเกินไป 
การสวมเสื้อที่มีปกเสื้อสูงหรือคอเสื้อแคบเกินไป
อาจจะไปกดทับหลอดเลือดแดงบริเวณต้นคอส่งผลให้ความดันต่ำลงจนหน้ามืดเป็นลมได้

          5.เพิ่มสารอาหารให้เพียงพอ: 
ผู้ที่มีแนวโน้มเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำนั้น 
หากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะทำให้ความดันโลหิตยิ่งต่ำลงไปอีก
 แต่หากเสริมอาหารให้เพียงพอจะช่วยให้ความดันโลหิตเข้าใกล้ระดับปกติมากยิ่งขึ้น
อาการที่ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ก็มีโอกาสที่จะลดลงหรือหายไปได้
          6.ลดการรับปรทานอาหารที่ทำให้ความดันโลหิตต่ำลง: 
เช่น เชลเลอรี ฟักเขียว ถั่วเขียว มะระ หอมหัวใหญ่ สาหร่ายทะเล หัวไชเท้า เป็นต้น

          7.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ: 
การออกกำลังกายทำให้ระบบประสาทเกิดความสมดุล 
หลอดเลือดหัวใจแข็งแรงทั้งยังรักษาความดันโลหิตต่ำให้ดีขึ้น

          8.เลือกประเภทการออกกำลังอย่างเหมาะสม: 
ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนอิริยาบท 
ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังที่ต้องยืนนาน ๆ หรือต้องเปลี่ยนท่าทางบ่อย ๆ 
ส่วนผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำจากโรคภัยไข้เจ็บในร่างกาย
ก่อนการออกกำลังควรตรวจสอบสมรรถภาพร่างกายก่อนทางที่ดี
ควรออกกำลังภายใต้คำแนะนำของแพทย์และครูผู้เชี่ยวชาญ

          9.ใช้ยาอย่างระมัดระวัง: 
หากต้องไปพบแพทย์เนื่องจากอาการเจ็บป่วยใด ๆ 
ควรแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้าว่าตนมีอาการความดันโลหิตต่ำ 
เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ส่งผลให้ความดันโลหิตลดต่ำลงไปอีก
         




ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น