วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เมื่อท่านเป็นหนี้....แล้วไม่มีเงินจ่ายต้องทำไง...

บทความนี้ ผมไม่ได้แนะนำให้ใครทำตามนะครับ...

ผมแค่เข้ามาเล่า“ข้อกฏหมาย”บางอย่างให้ฟังเฉยๆ



          ถ้าลูกหนี้ หรือจำเลย เมื่อถูกศาลพิพากษาให้ชดใช้หนี้ตามหมายฟ้องแล้ว 

ลูกหนี้หรือจำเลย ไม่ยอมใช้หนี้ตามคำสั่งของศาล ก็จะเข้าสู่กระบวนการที่ทางเจ้าหนี้ 
จะต้องส่งเรื่องให้ "กรมบังคับคดี" ทำการอายัดเงินเดือน หรืออายัดทรัพย์สินต่อไป

แล้วถ้า ลูกหนี้หรือจำเลย ไม่มีทรัพย์สินใดๆให้อายัดหรือยึด 

ทางเจ้าหนี้และกรมบังคับคดี ก็จะเหลือเพียงแค่ช่องทางเดียวเท่านั้น ก็คือการ 
"อายัดเงินเดือน" ของลูกหนี้

         แต่การที่จะอายัดเงินเดือนของลูกหนี้ได้ ลูกหนี้จะต้องมีเงินเดือนเกินกว่า 

10,000.-บาท ขึ้นไปเท่านั้น...จึงจะอายัดได้...และจะอายัดได้ไม่เกิน 30% 
จากเงินเดือนของลูกหนี้ด้วย...โดยไม่สนว่าลูกหนี้จะมีเจ้าหนี้กี่ราย 
(จะมีเจ้าหนี้เป็น สิบราย , ร้อยราย , หรือพันราย ก็ตาม) 
เพราะกฏหมายเขาเขียนคุ้มครองเอาไว้อย่างนั้น...เช่น...ถ้าลูกหนี้มีเงินเดือน 30,000.-บาท 
เจ้าหนี้ก็จะอายัดเงินเดือนของลูกหนี้ได้ประมาณ 9,000.-บาท 
(คำนวนจาก 30% ของเงินเดือนที่ 30,000-บาท)...
แต่ถ้าลูกหนี้มีเงินเดือนแค่ 10,200.-บาท เจ้าหนี้ก็จะอายัดเงินเดือนได้แค่ 200.-บาท 
เท่านั้น จะมาอายัดเงินเดือน 30% จากเงินเดือนที่จำนวน 10,200.-บาท ไม่ได้ 
(เพราะกฏหมายเขาเขียนกำหนดให้ลูกหนี้ผู้ที่ถูกอายัดเงินเดือน 
จะต้องมีเงินเดือนเหลือเอาไว้สำหรับ กิน , ใช้จ่าย , ยังชีพ...ที่ขั้นต่ำ 10,000-บาท)

             แต่ถ้าลูกหนี้ "ตกงาน" หรือไม่ได้ทำงานตามบริษัทต่างๆ...

กล่าวคือ...ไม่ได้มีรายได้ประจำเป็นเงินเดือนที่แน่นอน และไม่มีการนำเงินส่งภาษีและประกันสังคม...อาทิเช่น...ขับรถ Taxi , ขับรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างตามวิน , ขายก๋วยเตี๋ยว , 
ขายกาแฟ , ขายข้าวแกง , ขายเสื้อผ้าตามตลาดนัด , ทำงานฟรีแลนซ์ , 
ขายของตาม Internet ฯลฯ...อย่างนี้เป็นต้น ก็จะเปรียบเสมือนกับบุคคลที่"ตกงาน"หรือ
"ว่างงาน" ตามการเรียกเก็บภาษีและรายได้ของรัฐ...ซึ่งก็หมายความว่า 
ตามอายัดเงินเดือนไม่ได้ เพราะรายได้ต่างๆที่ได้มานั้น...ไม่ถูกจัดว่าเป็น"เงินเดือน" 

            เมื่ออายัดทรัพย์สินก็ไม่ได้...อายัดเงินเดือนก็ไม่ได้ หนี้ต่างๆ 

ของลูกหนี้หรือจำเลยที่ถูกศาลพิพากษา ก็จะถูกแขวนลอยเอาไว้เฉยๆ 
(หรือที่เรียกว่าถูก"แขวนหนี้")...และถ้าหากระยะเวลาในการ"แขวนหนี้"
 ผ่านพ้น10 ปีไปแล้ว หนี้ตัวนี้ก็จะ"หมดอายุความ"ในการอายัดจากทางเจ้าหนี้
           ซึ่งระหว่างใน 10 ปี ที่หนี้ดังกล่าว ถูกแขวนลอยเอาไว้เฉยๆอยู่อย่างนี้ 
ทางเจ้าหนี้ก็จะพยายามสืบทรัพย์ให้ได้ว่า ลูกหนี้มีทรัพย์สินเก็บหรือซุกซ่อนเอาไว้
ที่ไหนบ้างหรือปล่าว? หรือไปเปิดบัญชีเงินฝากไว้ที่ไหนบ้าง?...ถ้าสืบเจอ 
ก็ไปแจ้งต่อกรมบังคับคดีให้มาทำการยึดไปใช้หนี้...แต่ถ้าสืบไม่เจอ 
หรือสืบแล้วพบว่าไม่มีทรัพย์สินใดๆเลย...ก็ทำอะไรไม่ได้

และเมื่อระยะเวลาในการ"แขวนหนี้ 10 ปี"นี้...ผ่านพ้นไปแล้ว 

(10 ปีนี้ ให้เริ่มนับจากวันที่ถูกศาลพิพากษา เป็นต้นไป) เจ้าหนี้ก็จะหมดอายุความ
ในการอายัดทันที (จะมาอายัดทรัพย์ หรืออายัดเงินเดือน ที่เพิ่งจะมารู้หรือเพิ่งมาเจอ 
ภายหลังจาก 10 ปีผ่านพ้นไปแล้ว ไม่ได้อีกต่อไป) ลูกหนี้หรือจำเลย 
ก็จะเป็น "ไท" ในทันที ไม่ต้องมาชดใช้หนี้สินที่เหลืออยู่อีกต่อไป

บทความที่เล่ามาให้ฟังทั้งหมดนี้ เป็นเพียงแค่ข้อกฏหมาย 

ที่นำมาถ่ายทอดให้เป็นความรู้เท่านั้นนะครับ...ไม่ได้แนะนำให้คุณ หรือใครทำตามนะครับ
เพียงแต่แค่...เล่าให้ฟังเฉยๆ “รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม”...เหอ...เหอ...เหอ...
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ

ที่มา:http://debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=8746&Itemid=52  ขอบคุณเจ้าของบทความ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น